เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเยี่ยมชมที่ทำการของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) [fr]

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 นายตีแยรี มาตู เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ได้เยี่ยมชมที่ทำการของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. ซึ่งตั้งอยู่ภายในโครงการอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ (Space Krenovation Park: SKP) ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

ประเทศไทยมีความสนใจด้านกิจการอวกาศมาเป็นเวลานาน ในปี 2514 ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการ NASA ERTS-1 ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของโลก ภายหลังความสำเร็จของโครงการดังกล่าว ในปี 2543 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดตั้ง "สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)" ขึ้น โดยมีตัวย่อว่า "สทอภ." และมีชื่อภาษาอังกฤษ "Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization) - GISTDA"

สทอภ. มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดทำโครงการพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของตนเอง ซึ่งมีชื่อว่า "ดาวเทียมไทยโชต" (Thaichote) หรือ "ดาวเทียมธีออส" (THEOS: Thailand Earth Observation Satellite) ภายใต้การดำเนินงานของ สทอภ. โครงการนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมกับบริษัท EADS Astrium ประเทศฝรั่งเศส
ดาวเทียมไทยโชต เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม เป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit: LEO) โคจรสูงจากพื้นโลกประมาณ 820 กิโลเมตร มีอายุทางเทคโนโลยีขั้นต่ำ 5 ปี

ภาพถ่ายมุมสูงของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
ภาพถ่ายมุมสูงของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
ภาพ : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
อาคารที่ทำการของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ (สทอภ.)
อาคารที่ทำการของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ (สทอภ.)
ภาพ : สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเยี่ยมชมที่ทำการของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเยี่ยมชมที่ทำการของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
ภาพ : สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเยี่ยมชมที่ทำการของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเยี่ยมชมที่ทำการของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
ภาพ : สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส พร้อมด้วยนาย Hubert Colaris อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ และนายกซาวีเย โกรแม็ทร์ (Xavier Grosmaitre) ผู้ช่วยทูตด้านความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ได้เยี่ยมชมศูนย์ติดตามข้อมูลสารสนเทศดาวเทียมไทยโชต และได้รับทราบว่าในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 การปฏิบัติการดาวเทียมไทยโชตมีความล่าช้าเพียงเล็กน้อย

ภายหลังความสำเร็จของโครงการดาวเทียมไทยโชต ในปี 2561 สทอภ. ได้เลือกบริษัท Airbus ให้ดำเนินการสร้างและพัฒนาดาวเทียมธีออส-2 (THEOS-2) เพื่อแทนที่ดาวเทียมไทยโชต
หลังการลงนามสัญญาระหว่าง สทอภ. กับบริษัท Airbus Defence & Space SAS ที่ประเทศไทย ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความตกลงสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2561 ณ ทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศส โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นสักขีพยานร่วมกัน
โครงการดาวเทียมธีออส-2 มีมูลค่าสัญญาจำนวน 6,900 ล้านบาท หรือ 165 ล้านยูโร โดยฝรั่งเศสถือหุ้นโครงการประมาณร้อยละ 75

ดาวเทียมธีออส-2 มีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด Vega-C จรวดขนส่งขนาดกลางรุ่นใหม่ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency - ESA) ในช่วงระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ - ต้นเดือนมีนาคม 2566 ทั้งนี้ ได้มีการปล่อยจรวด Vega-C ครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

รัฐบาลไทยและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนากิจการอวกาศของไทย ด้วยเหตุนี้ สทอภ. ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวง อว. จึงได้รับมอบหมายให้จัดทำร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ ซึ่งอาจจะทำให้ สทอภ. เปลี่ยนสถานะเป็นองค์กรกิจการอวกาศอิสระ และจะช่วยกระชับความร่วมมือที่มีอยู่แล้วระหว่าง สทอภ. กับศูนย์ศึกษาการอวกาศ ประเทศฝรั่งเศส (Centre national d’études spatiales - CNES) ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2558 CNES และ สทอภ. ได้ลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากอวกาศในหลากหลายด้าน

แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 20/04/2023

ด้านบนของหน้า